skip to content
B L O G

The Future of AI-Enabled Health: Leading the Way (ภาษาไทย)

/ 2 min read

TL;DR

AI เป็นส่วนหนึ่งของเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอลที่มีศักยภาพมหาศาล ตั้งแต่การช่วยแพทย์ให้ทำงานได้ดีขึ้น ลดภาระงานที่ไม่จำเป็น ไปจนถึงการให้ผู้ป่วยสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้น ในแง่ของระบบปฏิบัติการ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการด้านสุขภาพ แต่การนำ AI ไปใช้ในวงกว้างยังเป็นไปได้ช้า ซึ่งอาจทำให้ศักยภาพที่แท้จริงของ AI ในระบบสุขภาพไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

โครงการ Digital Healthcare Transformation (DHT) ของ World Economic Forum ได้ศึกษาการใช้ AI ในระบบสุขภาพ และพบ 3 อุปสรรคหลัก1

  1. Complexity of AI in Health Deterring Policy-Makers and Business Leaders – AI ยังไม่สามารถเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในระดับนโยบายได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากความซับซ้อนของการนำ AI มาใช้ในระบบสุขภาพ
  2. Misalignment of Technical Choices with Strategic Visions – ผู้นำในภาคสุขภาพมักมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคตัดสินใจเรื่อง AI ซึ่งอาจทำให้เทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
  3. Low Confidence in AI Within a Fragmented Regulatory Framework – ความไม่ไว้วางใจของประชาชนและความกังขาจากอุตสาหกรรมอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการนำ AI ไปใช้

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จำเป็นต้องมี 6 แนวทางสำคัญในการผลักดัน AI ในระบบสุขภาพให้เติบโตอย่างเป็นระบบ:

  1. Delivering Near-Term Benefits – เน้นการนำ AI ไปใช้กับกระบวนการที่สามารถวัดผลได้ทันที
  2. Building Public–Private Ecosystems – ผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างสมดุลด้านผลประโยชน์
  3. Prioritizing Shared Infrastructure – ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ใช้ร่วมกัน
  4. Empowering Leaders with AI Literacy – ส่งเสริมความรู้ด้าน AI ในระดับผู้บริหารและผู้มีอำนาจตัดสินใจ
  5. Proactively Building Trust – ใช้แนวทางการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น และมีความโปร่งใส
  6. จIntegrating Data for Global and Local Impact – สนับสนุนระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล

แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ AI สามารถพลิกโฉมระบบสุขภาพ ทำให้เกิดการเข้าถึงบริการที่เป็นธรรม เพิ่มคุณภาพชีวิต และขับเคลื่อนการเติบโตของภาคสุขภาพอย่างยั่งยืน


Context: AI in the Health Sector

AI กำลังเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ ตั้งแต่การช่วยแพทย์วินิจฉัยโรค การพัฒนายา ไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ แต่การนำไปใช้อย่างแพร่หลายยังมีอุปสรรคสำคัญ

Key Areas of AI Impact

  • Providers: ใช้ AI ช่วยในการวินิจฉัย การติดตามอาการ และการบริหารจัดการทางคลินิก
  • Pharmaceutical Firms: เร่งการพัฒนายาใหม่และการทดลองทางคลินิก
  • Healthcare Payers & Insurance: ลดต้นทุน ป้องกันการทุจริต และพัฒนาระบบประกันสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล
  • MedTech Companies: นำ AI มาใช้ในอุปกรณ์ทางการแพทย์และปรับปรุง Supply chain
  • Public Health Agencies: ใช้ AI เพื่อวางแผนทรัพยากรและคาดการณ์สถานการณ์ด้านสุขภาพ

Future Outlook: Four Visions for AI-Enabled Health

แนวคิดเกี่ยวกับการนำ AI มาใช้ในระบบสุขภาพสามารถแบ่งออกเป็น 4 มุมมองสำคัญ:

  1. Transformation in Well-Being – AI สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ คาดการณ์ความเสี่ยง และปรับไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันโรค แทนที่จะรักษาหลังจากเกิดอาการ
  2. 8 Billion Doctors – ระบบ AI กลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัวด้านสุขภาพสามารถให้คำแนะนำทางการแพทย์แบบเรียลไทม์ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่แม่นยำโดยไม่มีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์และเศรษฐฐานะ
  3. AI-Powered Operational Excellence – AI สามารถทำให้ระบบสุขภาพมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดภาระงานที่ไม่จำเป็น เช่น การบริหารจัดการเอกสาร การนัดหมาย และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์
  4. Health Leapfrog – เปลี่ยนวิธีการพัฒนาระบบสุขภาพจากแบบดั้งเดิม เพื่อให้สามารถใช้ AI ลดช่องว่างด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพและยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยได้

แม้ว่าทั้งสี่แนวทางนี้จะมีศักยภาพสูง แต่การทำให้เป็นจริงต้องอาศัยการสนับสนุนทางนโยบาย เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการลงทุนเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง


Analysis: Three Key Challenges to Scaling AI in Health

แม้ว่า AI จะมีศักยภาพสูง แต่การนำไปใช้ในวงกว้างยังคงเผชิญกับอุปสรรคใหญ่ 3 ข้อ:

Complexity of AI in Health Deterring Policy-Makers and Business Leaders

  • AI ยังไม่ได้รับความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ในแผนนโยบายด้านสุขภาพ เนื่องจากข้อจำกัดทางการเมืองและงบประมาณ
  • การลงทุน AI ระยะยาวต้องอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีประสิทธิผลจริง
  • ผู้นำด้านสุขภาพยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการรวม AI เข้ากับระบบสาธารณสุขโดยรวม

Misalignment of Technical Choices with Strategic Visions

  • การพัฒนา AI มักถูกดำเนินการโดยขาดการเชื่อมโยงกับเป้าหมายระยะยาวของระบบสุขภาพ
  • ผู้นำที่ไม่มีพื้นฐานด้าน Digital อาจตัดสินใจนำ AI ไปใช้แบบไม่มีประสิทธิภาพ
  • กรอบกฎหมายและการกำกับดูแลยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี AI

Low Confidence in AI Within a Fragmented Regulatory Framework

  • ข้อบังคับเกี่ยวกับ AI แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดอุปสรรคด้านความไว้วางใจและการนำไปใช้
  • ระบบ AI ด้านสุขภาพหลายระบบยังขาดมาตรฐานความโปร่งใสและหลักฐานยืนยันผลลัพธ์ที่ชัดเจน
  • จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ

Strategy: Six Calls to Action to Drive Value Creation

เพื่อแก้ไขปัญหาด้าน AI ในระบบสุขภาพ ผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีแนวทางต่อไปนี้:

  1. From Dreaming of Breakthroughs to Delivering Near-Term Benefits – ให้ความสำคัญกับการใช้งาน AI เชิงปฏิบัติที่สามารถสร้างผลลัพธ์ได้จริง พร้อมวางรากฐานสำหรับการพัฒนาในระยะยาว
  2. From Independent Tech Progress to Public–Private Ecosystems – ผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดทิศทาง AI ให้เกิดความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
  3. From Infrastructure Competition to Service-Driven Success – เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในการใช้ AI
  4. From Good Intentions to Responsible Technical Decisions – ส่งเสริมให้ผู้นำด้านสุขภาพมีความเข้าใจเกี่ยวกับ AI เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
  5. From Regulatory Dependence to Proactive Trust Building – พัฒนาแนวทางกำกับดูแล AI ให้ยืดหยุ่น โปร่งใส และสามารถตอบสนองความกังวลของสังคมได้อย่างรวดเร็ว
  6. From Dispersed Data to Deliberate Integration – สนับสนุนให้มีระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก แต่ยังคงควบคุมได้ในระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความแม่นยำและเป็นธรรมในการใช้งาน AI

บทสรุป

AI สามารถพลิกโฉมระบบสุขภาพได้ แต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ:

  • การให้ความสำคัญกับ AI ในระดับนโยบาย
  • การตัดสินใจทางเทคนิคที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายด้านสุขภาพ
  • การกำหนดกรอบกฎหมายที่ช่วยสร้างความไว้วางใจและส่งเสริมการนำ AI ไปใช้

หากสามารถดำเนินการตามแนวทางทั้ง 6 ประการได้ AI จะสามารถขับเคลื่อนภาคสุขภาพไปสู่อนาคตที่มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม และยั่งยืน

Footnotes

  1. The Future of AI-Enabled Health: Leading the Way - Publications (WEF)