Assessment Tools part 2 (MEQ)
/ 2 min read
ภาค 2 มาต่อกันที่เครื่องมือข้อเขียน MEQ
MEQ
The Essay
เมื่อเปรียบเทียบกับ MCQ ข้อสอบเขียนสามารถประเมิน Higher level ได้มากกว่าตาม Bloom’s taxonomy ข้างต้น
ในอดีตรูปแบบการออกข้อสอบ Essay จะเป็นการออกข้อสอบที่ให้เขียนแบบเปิดกว้าง เช่น จงอธิบาย Peritoneum แล้วให้บริเวณเขียนคำตอบเป็นหน้ากระดาษ ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น
- แนวโน้มการวัดความรู้ที่จะเป็น recall มากกว่า higher cognitive level
- Content coverage จะต่ำเพราะออกเยอะ ตรวจเยอะไม่ไหว
- Time consuming for scoring ใช้เวลาในการตรวจนาน โดยเฉพาะถ้าเป็นลายมือเขียน
- Standardized of scoring ขึ้นอยู่กับอาจารย์ผู้ออกข้อสอบ assessor-dependent
- Low reliability ผลจาก standardized
จากปัญหาดังที่กล่าวมาจึงมีการพัฒนารูปแบบข้อสอบที่เป็นการเขียนตอบเป็น MEQ (Modified essay question) วัตถุประสงค์คือต้องการประเมิน Clinical skills, Problem solving MEQ จะวัดความสามารถต่างๆ ของผู้ทำข้อสบ ดังนี้
- Data gathering ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
- Hypothesis generation จากข้อมูลที่รวบรวมได้
- Hypothesis refinement นำข้อมูลมาประกอบ เพื่อ ddx. โรค
- Making decision and planning management
ลักษณะข้อสอบ MEQ
Factual case history presented in stages แบ่งข้อมูลเป็นระยะๆ ค่อยๆ เติมข้อมูล เมื่อเปิดหน้าถัดไป ประเมิน Clinical reasoning and problem solving skills Multiple questions (7-8 questions, 90 mins) ทำให้ เนื้อหาครอบคลุมมากขึ้น Predetermined check list of correct answer กำหนด check list เพื่อให้ตรวจได้ชัดเจน ถ้าทำได้ดีจริง อาจารย์ท่านใดมาตรวจต้องได้เหมือนกัน Increased reliability
Structure of MEQ
ส่วนต่างๆ ของการออกแบบข้อสอบ MEQ มักจะมีโครงสร้างต่างๆ ดังนี้
- Brief scenario ส่วนแรกๆ ของข้อสอบ จะให้ข้อมูลที่จำเป็นมาสั้นๆ แต่ต้องบอกรายละเอียดที่ชัดเจน
- Hypothesis generation นำข้อมูลเบื้องต้นมาลองตั้งสมมุติฐาน เช่น Differential diagnosis
- Data gathering ให้ซักประวัติ หรือตรวจร่างกายเพิ่มเติม
- Feedback ข้อมูลเติมเข้ามา
- Hypothesis refinement นำข้อมูลที่ได้มาประกอบกับสมมุติฐานที่เกิดขึ้น
- Management แนวทางการดูแลผู้ป่วย
- Pathophysiology or mechanism of disease อธิบายรายละเอียดที่เกี่ยวกับโรค
Brief scenario
อาจะให้ข้อมูล เบื้องต้น แค่ประวัติอย่างย่อ หรือ Lab บางอย่าง ข้อมูลที่ให้นั้นขึ้นอยู่กับว่าเพียงพอในการตั้งสมมติฐาน หรือดูแลเบื้องต้น (ตอบคำถาม) ในช่วงแรกได้หรือไม่
Scenario construction
- ให้ข้อมูลสำคัญ
- กำหนดบทบาทผู้สอบ
- ระบุสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์
ตัวอย่าง Brief scenario
ผู้ป่วยเด็กอายุ 7 ปี
อาการสำคัญ: ไข้ ไอ หายใจเร็ว 5 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติปัจจุบัน: 5 วันก่อนเริ่มมีไข้ต่ำๆ ไอมีเสมหะ เจ็บคอเล็กน้อย น้ำมูกใส มารดาซื้อยาให้กิน อาการไม่ดีขึ้น 1 วันก่อนมายังมีไข้สูง ไอมากขึ้น สังเกตว่าหายใจแรง จึงพามาโรงพยาบาล
ประวัติอดีต: สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ขับถ่ายปกติ
ตรวจร่างกาย
Vital signs: BT 39 c RR 40/min PR 100/min BP 100/60 mmHg
GA: Consciousness, not pale, no jaundice
HEENT: No injected pharynx and tonsils, intact tympanic membrane, no nasal discharge, no palpable lymph node
CVS: Regular S1,S2, no murmur
Chest: Tachypnea, fine crepitations at RLL with occasional rhonchi
Abdomen: Soft, not tender, no organomegaly
คำถาม
จงให้การวินิจฉัยแยกโรคเบื้องต้น (Hypothesis generation)
ถามประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติมอะไรบ้าง (Data gathering)
จงให้การรักษาเบื้องต้น (Management)
Data gathering
วัดความสามารถในการหาข้อมูลสำคัญ ตัวอย่างคำถาม
- ท่านต้องการข้อมูลจากประวัติและการตรวจร่างกาย หรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญอะไรบ้าง เพื่อ… (ควรจะมีการระบุจำนวนข้อ เพื่อให้ผู้ตอบพยายามเลือกที่จำเป็น)
- ช่วยในการวินิจฉัย
- ช่วยในการรักษา
- ช่วยประเมินความรุนแรง
Feedback
ให้ข้อมูลเพื่อช่วยตัดสินใจ ในขั้นตอนต่อไป (พลิกหน้า)
Hypothesis refinement
นำข้อมูลที่ได้มาประกอบกับสมมุติฐานเบื้องต้น
- ให้การวินิจฉัยแยกโรคที่แคบลง
- วินิจฉัยเบื้องต้น
- วางแผนการดูแลหรือส่งตรวจเพิ่มเติม
- ประเมินความรู้ ความเข้าใจ
Management
คำถามกลุ่มการดูแลผู้ป่วย
- มักจะเป็นคำถามท้ายๆ เมื่อผู้สอบได้ข้อมูลเกือบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว
- การให้คำแนะนำ
- ให้คำปรึกษา
- ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ
- ถามอุบัติการณ์
- กลไกลการเกิดโรค
- ภาวะแทรกซ้อน หรือข้อควรระวัง
- กลุ่มคำถาม recall ไม่ควรเกิน 5-10%
ขั้นตอนการสร้าง MEQ
Table of Specification
เพื่อให้การสร้างคำถาม และการให้น้ำหนักแต่ละหัวข้อการประเมินมีแนวทางชัดเจนแต่แรก จึงควรกำหนด Table of spec ก่อน ดังตัวอย่าง
คำถามที่ | เวลา(นาที) | คะแนน | Competency |
---|---|---|---|
1…… | hypotesis generation | ||
2…… | emergency management | ||
3…… | data gathering | ||
4…… | clinical reasoning |
อภิปรายคำตอบที่อาจเป็นไปได้ (Possible Answer)
เนื่องจากเป็นข้อเขียน คำตอบจึงไม่ตายตัว สามารถตอบได้หลากหลายแนวทาง การร่วมกันอภิปรายคำตอบกับอาจารย์กันเองหรือแม้กระทั่งการให้กลุ่ม แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุนทดลองทำก่อน อาจจะเป็นตัวช่วยในการพิจารณาสร้างแนวทางคำตอบของแต่ละข้อได้
กำหนดคะแนนและเวลาสอบ
พิจารณาจากคำถาม และความยากง่ายในแต่ละคำถาม-คำตอบ ให้ลองกำหนดเวลา และคะแนนในแต่ละคำตอบว่าได้เท่าไร เพื่อใช้ประเมินเบื้องต้น
ทดลองสอบเพื่อจับเวลา
ทดลองโดยให้กลุ่มที่มีความรู้ใกล้เคียงกันมาทดลอง เช่น แพทย์ใช้ทุน แล้วลองจับเวลาทำข้อสอบ ถ้าจะต้องนำไปใช้ในกลุ่ม นักศึกษาแพทย์จะต้องเพิ่มเวลาให้อีกประมาณ 30-50% ตามความสามารถในแต่ละชั้นปี
แนวทางการให้น้ำหนักแต่ละส่วนของข้อสอบ
เป็นการให้น้ำหนักคะแนนในแต่ละส่วนที่ไม่เท่ากัน โดยพิจารณาจากความรู้ของนักเรียนในแต่ละชั้นปี ดังตัวอย่าง
Clinical competency | 4th year | 5th year | 6 th year | Resident |
---|---|---|---|---|
Hypothesis generation | 10 | 20 | 20 | 20 |
Data gathering | 40 | 30 | 20 | 20 |
Hypothesis refinement | 30 | 25 | 25 | 15 |
Investigation | 10 | 10 | 10 | 10 |
Management | 10 | 15 | 15 | 20 |
Counseling | - | - | 10 | 15 |
Predetermined Answer
เป็นประเด็นสำคัญของการสร้างข้อสอบ MEQ เนื่องจาก เป็นการสร้างคำตอบไว้ล่วงหน้า เช่น
คำถามที่ 1 จงตอบมา 5 ข้อ (คะแนนเต็ม 15 คะแนน) คำตอบที่คาดหวัง จะต้องมากกว่า 5 ข้อ เช่น 6-10 ข้อ และไป weight คะแนนแต่ละข้อ
Answer checklist
- Correct answer could be more than one เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นได้ในข้อสอบข้อเขียน
- List possible correct answers as much as possible
- Pilot ทดลองให้ทำข้อสอบแล้วนำผลการทำข้อสอบมาพิจารณาหาคำตอบที่เหมาะสม
- Peer review ให้อาจารย์ด้วยกันช่วยกันดูแล้วหาคำตอบที่เหมาะสม
- Brainstorm ใช้อาจารย์ หรือแพทย์แผนกต่างๆ ช่วยกันดูจะได้ครอบคลุมคำตอบที่นักศึกษาแพทย์จะตอบมากขึ้น