Curriculum คือ ส่วนที่รวมทุกอย่าง ตั้งแต่ เนื้อหา วิธีการสอน ผลลัพธ์ การประเมินผล การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียน ตารางเรียน
Kern’s six-step approach 1
เป็นทฤษฏีที่ได้รับการยอมรับมานาน ออกแบบโดยแพทย์ เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ มีขั้นตอนดังนี้
- Problem Identification วิเคราะห์หาปัญหาทางสุขภาพ ที่จะต้องถูกบรรจุในหลักสูตร
- Needs Assessment of Targeted Learners ผู้สร้างหลักสูตรจะต้องพิจารณาหาความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และอุดมคติ (ที่อยากให้เป็น) ทั้งด้านผู้เรียน และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
- Goals and Objectives กำหนดเป้าหมายของการเรียนที่ชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญเพราะ
- ช่วยเลือกเนื้อหาในการสร้างหลักสูตร
- ช่วยเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
- วัดและประเมินผลทั้งผู้เรียน และหลักสูตรได้
- ทำให้เลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสม
- ใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ว่าผลลัพธ์การเรียนหลักสูตรนี้คืออะไร และเป้าหมายคืออะไร
- Educational Strategies มีสองประเด็นหลักๆ คือ
- จัดการเรียนรู้ทั้งด้านเนื้อหา และวิธีการเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์
- นิยามเป้าหมายของการวัดผลลัพธ์ได้
- Implementation ในขั้นตอนนี้การนำไปใช้งานผู้พัฒนาจะต้องระมัดระวังเรื่องทรัพยากรต่างๆ ว่าเพียงพอเช่น ด้านนโยบาย, ด้านการเงิน หรือแม้กระทั่งด้านการบริหารจัดการต่างๆ
- Evaluation and Feedback ขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้เกิดการนำกลับมาพัฒนาใหม่อีกครั้ง
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจึงมีการแบ่งขั้นตอนการพัฒนา (Stage) เป็นระยะต่างๆ 2
Steps | Options |
---|---|
1.Character of the course | |
2.Statement of overall purpose of the curriculum | Mission or Vision or Graduate characteristics or Aims |
3.Specific intended achievements | Objectives or Outcomes or Competencies |
4.Curriculum organization | Integration around selected framework +/- Core and options +/- Spiral model around continuous themes +/- Modular structure |
5.Educational experiences | Learning and teaching methods Learning resources Feedback and support Practical and clinical experience Sties |
6.Curriculum evaluation plan |
Finding the Gap?
จาก ทฤษฏีข้างต้นจะใช้วิธีการวิเคราะห์หาช่องว่างระหว่างผลลัพธ์ที่ต้องการ และผลลัพธ์ปัจจุบัน เพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตรให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แบ่งเป็นประเภทความต้องการ (needs) ในแต่ละประเภท และวิธีการได้มาซึ่งความต้องการต่างๆ ดังนี้
Types of needs
- Expressed needs ความต้องการที่ตรวจพบจากการกระทำของนักเรียน เช่น เจอ gap ในทักษะของการทำหัตถการ จาก note ใน medical record มักจะได้ผ่านการ observe เพราะฉะนั้น expressed needs จะเป็นสิ่งที่เกิดจากอาจารย์สังเกต
- Felt needs ใช้ความรู้สึกในการประเมินความต้องการของนักเรียน เช่นจากการสำรวจนักเรียนโดยตรงว่า ยังขาดเรื่องอะไรอยากให้สอนอะไรเพิ่ม อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้
- Normative needs เป็นข้อสรุปจากผู้เชี่ยวชาญและมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ว่ามีสิ่งสำคัญหรือต้องการอะไรบ้าง
- Comparative needs ใช้วิธีการเปรียบเทียบระหว่าง curriculum อาจจะต่างมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตร ที่มีความคล้าย แล้วมาดูเปรียบเทียบกัน
- Legislative needs ความต้องการขององค์กรที่ควบคุม หรือผู้มีอำนาจเป็นต้น เช่น แพทยสภา, กฏหมาย จะขึ้นกับบริบทของแต่ละที่
Learning outcome (LO)
เป็นสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังการเรียนรู้ เช่น สามารถ ประยุกต์ หรือ แสดงให้เห็นได้ในเรื่องใดๆ
ลักษณะที่ดีของ LO
- Precise ตรง
- Action Verb ต้องมี action หรือการกระทำที่ชัดเจน เช่น สามารถ แสดง อภิปราย ที่สำคัญคือต้องสามารถสังเกต หรือประเมินได้
- Level High or low challenge (Bloom’s taxonomy) ต้องชัดเจนว่าจะประเมินที่ระดับไหน อ้างอิงตาม Bloom’s taxonomy
MNEMONIC สำหรับการตั้ง Learning outcome
SMART
- Specific - จำเพาะ มีความเจาะจง
- Measurable - วัดได้ ประเมินผลได้
- Achievable - ทำได้
- Relevance - มีความเกี่ยวข้องกันกับหลักสูตร
- Time bound - ระยะเวลาชัดเจน
Constructive alignment
เป็นสิ่งที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือจะต้องทำให้เกิดลักษณะการวางหลักสูตรที่เชื่อมต่อกัน (Constructive alignment) ตั้งแต่ Learning outcome (LO), Assessment และ Learning experience เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด3