อ.สตางค์
Feedback
Feedback คือการให้ข้อมูลที่จำเป็น โดยต้องกระทำในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และนำผลมาพัฒนา
Type of Feedback
- Positive OR Negative การให้ข้อมูลนั้นเป็นการให้ข้อมูลในแง่ดีหรือ ข้อปรับปรุง
- Constructive OR Destroy การให้ข้อมูลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ ต้องไม่เกิดการทำลายทั้งตัวตนของนักเรียน และพฤติกรรม
- Informal OR Formal ประเภทการแบ่งแบบนี้อาจจะใช้ได้กับการให้ข้อมูลบางประเภท การให้ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการในบางกรณี เช่น ขณะกำลังกินข้าวกับนักเรียนมีการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกตักเตือนอาจจะได้ผลมากกว่า
ประโยชน์ของ Feedback
กล่าวโดยหลัก คือชวนให้เกิด Reflection เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นอกจากนั้นยังช่วยลดความคับข้องใจของผู้เรียน เช่น ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่กำลังทำถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี
Barrier ของการให้ Feedback
แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ
- Emotional Reaction การให้ Feedback จะก่อให้เกิดการตอบสนองทางด้านอารมณ์ต่างๆ มากมายทั้งด้านที่ต้องการและไม่ต้องการ เกิดได้กับทั้งตัวผู้ให้ Feedback เอง และตัวผู้ถูก Feedback เช่นการ ให้ Feedback ชื่นชม ทั้งสองฝ่ายอาจจะรู้สึกอารมณ์ดี ได้รับพลังงาน แต่กลับกันในกรณี Feedback ที่เป็นการให้โทษ หรือกระทบต่อตัวตนของผู้รับ Feedback ย่อมส่งผลให้เกิดสภาวะทางอารมณ์ที่ขุ่นมัวขึ้น
- Side effect ผู้ให้ Feedback อาจจะกังวลผลลัพธ์ หรือผลที่ตามมาหลังจากที่ได้ให้ Feedback แก่ผู้รับไปแล้ว เช่น ก่อให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่อยากเจอกันอีก เป็นต้น
แนวทางการลด Barrier ในการให้ Feedback
ให้ใช้หลักการตาม 3 ข้อนี้และที่สำคัญ
ผู้รับ และ ผู้ให้ Feedback จะเกิดอารมณ์ ทั้ง Positive และ Negative จึงต้องระวังในจุดนี้
- รู้จักตนเอง >>> ระมัดระวังการลืมตัว, รู้สึกไม่พอใจ หรือรู้สึกถูกดูถูก
- มีอะไรยังไม่ถูกหรือเปล่า
- ทำอะไรให้ราบรื่นมากขึ้น
Dimension of feedback
รูป … x = Telling >>> Challenge , y = Threaten >>> Support
No pain No gain >>> จะเป็นความยากเกินไปสำหรับบางคน ควรระวัง เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนา ( - + ) >>> Support มากเกินไป ข้อมูลที่ให้น้อยเกิน ไม่ Challenge จะไม่เกิดการพัฒนา ( + + ) >>> สร้างแรงบันดาลใจ เกิดการพัฒนาตนเอง
Constructive Feedback
ลักษณะที่จะทำให้เกิด Constructive feedback
- Specific เจาะจงเฉพาะเรื่อง เป้าหมายชัดเจน
- Optimistic เชิงสร้างสรรค์ มองว่าเขาพยายามเต็มที่แล้ว ในทุกสถาการณ์ทุกคนต้องพยายามเต็มที่อยู่แล้ว
- Non-threatening งดเว้นการด่า หรือตำหนิ, ไม่ควรกระทำต่อหน้าคนไข้เป็นต้น เน้นสร้างความเป็นกันเอง
- Timely มีระยะเวลา และช่วงเวลาที่เหมาะสม
ขั้นตอนการ Feedback
สรุปได้เป็น 5 ขั้นตอน
- Create positive atmosphere สร้างบรรยากาศที่เหมาะสม เป็นกันเอง
- Student Self assessment and Reflection เน้นการฟัง มากกว่าจะสอน ใช้ทักษะหลายๆ ด้าน ฟัง,ถาม,Deep listening, Reflection
- Giving constructive feedback ให้ Feedback ในลักษณะที่สร้างสรรค์
- Do ego sandwich technique ใช้ Sandwich เทคนิค ในการระบุพฤติกรรมที่ต้องการปรับปรุง ไม่ตีค่าพฤติกรรมว่าถูกหรือผิด
- Follow up มีการติดตามผลหลังให้การ feedback
Deep listening
การ Feedback ที่ดีมาจากการ “Deep Listening” ฟัง หรือเห็นจากสิ่งที่เขาเห็นจริงๆ ต้องสามารถเปิดใจตัวเอง เพื่อชื่นชมให้ได้เสียก่อน จึงจะอยากรับฟังในสิ่งที่เขากำลังสื่อสาร
การตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้งจะทำให้สามารถเข้าใจตัวตนของผู้ที่กำลังพูดกับเราได้อย่างละเอียด เข้าใจไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่ออกมาเนื่องจากภายใต้การแสดงพฤติกรรมต่างๆ นั้น ยังมีสิ่งที่อยู่ข้างใต้ (Iceberg Model) อีกมาก
ขั้นตอน
- สติ ผู้ฟังจะต้องรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และตั้งสติในการฟังก่อน
- อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการช่วยลดกำแพงความสัมพันธ์ ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากยิ่งขึ้น
- ปราศจากอคติ ไม่ตัดสินเรื่องราวใดๆ จากความคิดหรือประสบการณ์ของตนเอง
- ปรารถนาที่จะฟังความจริง ต้องมีความตั้งใจจะค้นหาความจริงอย่างที่ผู้พูดๆ
- ต้นจนจบกระแสความ อย่าขัดจังหวะ ถ้าพูดน้อยให้ถามเพิ่มเติม
Iceberg Model
เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า พฤติกรรมที่แสดงออกมา มาจากทั้งประสบการณ์ ตัวตน ความนึกคิดต่างๆ มากมายภายใต้พฤติกรรมนั้น เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่เราอาจจะเห็นเฉพาะยอดเพียงเล็กน้อย แต่ภายใต้นั้นมีขนาดใหญ่กว่ามาก
เพราะฉะนั้นการนำไปใช้คือ อาจารย์หรือผู้ให้ Feedback จะต้องมองให้ออกว่า สิ่งใดส่งผลให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ออกมา และสำคัญอย่างยิ่งที่จะระมัดระวังไม่ให้กระทบตัวตัน (Self) ของนักเรียน
Reflection
การทำ Reflection จะทำให้สามารถสะท้อนตนเองให้แก่ผู้อื่น สามารถมองเห็นตัวเองในมุมมองที่กว้างมากขึ้น หรือผู้อื่นจะสามารถมองเห็นตัวตนของเราได้มากขึ้น
ในกรณีที่นักศึกษา Feedback แล้ว ควรมี Reflection ร่วมด้วย ขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอนดังนี้
- สรุปเนื้อความ/เนื้อหาเรื่องราว
- ความรู้สึกที่แฝงอยู่
- ความต้องการลึกๆ ที่ไม่ได้สื่อสาร
- ความคิดเห็นของตนเองที่สอดคล้องกับเรื่องราว >>> ถ้าฟังมาดีจะไปด้วยกันอยู่แล้ว
Mentoring
Mentor ต่างกับ Coach อย่างไร
ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคืน Mentor จะไม่เน้นไปในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ตั้งเป้าหมายผลักดันให้เกิดความสำเร็จในแบบของนักเรียนที่ควรจะเป็น ส่วนกรณี Coaching นั้นจะมีเป้าหมายแน่นอน เช่น การทำ CPR Coaching เพื่อให้นักเรียนสามารถทำได้ตามวัคถุประสงค์ และที่สำคัญ Mentor เน้นที่ความสัมพันธ์ระยะยาว
Mentor สามารถเปลี่ยนได้?
อาจารย์ที่ปรึกษา สามารถเปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นต้อง Fix ที่คนเดิม หรือคนใดคนหนึ่ง ให้ Focus ที่ตัวนักเรียนเป็นหลัก เพราะบางครั้งคนบางประเภทอาจจะไม่สามารถพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง
การที่จะตอบได้ว่าอาจารย์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีคือสามารถเป็น Role Model ให้แก่นักศึกษาได้
ตัวอย่างระบบการดูแลนักศึกษา รพ.ขอนแก่น
รพ.ขอนแก่น เน้นสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกันเอง และอาจารย์ให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มมีกิจกรรมร่วมกับนักเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ตัวอย่างกิจกรรม จาก รพ.ขอนแก่น
- สานสัมพันธ์รับน้องใหม่
- พลังกลุ่มความสุข (จิตตปัญญาศึกษา)
- นพลักษณ์
- Friday - Fine Day เป็นพื้นที่ให้ นศพ. ได้มาพักผ่อน ทบทวนตนเอง หรือได้แสดงคุณค่าในตนเอง
- Ethics - แสดง Roleplay เพื่อให้เห็นความขัดแย้งของบทบาท และประเด็นจริยธรรมต่างๆ
- เรื่องเล่า - ได้สัมผัสแรงบันดาลใจ ได้คลี่คลายปัญหาต่าง ๆ
- Ethical osce >>> ใช้การสอบ OSCE ในการเรียนรู้กิจกรรมทางการแพทย์, ใช้ผู้ป่วยจำลองในการสร้างสถานการณ์ เช่น ท้องไม่พร้อม, ไม่ยอมฉีดยา, ขอให้หยุด CPR เป็นต้น
เน้น Prevention และมี Peer support
- นศพ. เน้น เข้าร่วมกิจกรรม เช่น จิตตปัญญา,นพลักษณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษา ดูแลต่อเนื่อง 4-5-6
- ครูพี่เลี้ยง ดูแลนักศึกษาทุกคน, มีนวก. ร่วมดูแล วางแผนการดูแลรายคน
- จิตแพทย์/นักจิตวิทยา ดูแลรายบุคคล รักษาความลับ
ระบบอื่นๆ เช่น Chatbot CARE Jai เป็น Chatbot ที่เกิดมาจากการที่นักเรียน เรียกร้องให้มีช่องทางเพื่อเข้าถึงระบบการให้คำปรึกษา