Plan your teaching
/ 3 min read
อ.บุญรัตน์ วราชิต อ.ทิพาพร ทองมาก
ก่อนที่จะทำการสอน ควรมีการเตรียมตัวที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน นอกจากประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียนแล้ว การวางแผนการสอนที่ดียังส่งผลให้ผู้สอนมีแนวทางการสอนที่ชัดเจน บรรลุวัตถุประสงค์ ประเมินและปรับปรุงการสอนของตนเองได้
Good to know before teaching
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ก่อนเริ่มทำการสอนโดยหลักๆ แล้วมีดังนี้
- Who ผู้เรียนเป็นใคร มีระดับความรู้ขนาดไหน
- What ต้องการที่จะสอนอะไร ตอบสนองวัตถุประสงค์ของผู้เรียนได้หรือไม่
- How วิธีการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร
- How will I know if students understand? จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่เราสอน กล่าวโดยสรุปคือการ “ประเมินผล”
The four stages of learning
สิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับทฤษฏีของการเรียนรู้ อันดับแรกคือ การที่คนเราจะเรียนรู้จะมี 4 ระยะ ตามทฤษฏี The 4 Stages of Learning Anything 1
ทฤษฏีนี้ถูกพูดถึงครั้งแรกในช่วงปี 1970 โดย Noel Burch นำเสนอเกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ว่าจะมี 4 ระยะคือ
- Unconscious incompetence ระยะแรกของทฤษฏีนี้คือ เรายังไม่รู้เกี่ยวกับวิธีการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และยังไม่ตระหนักด้วยว่าเราไม่รู้ ยกตัวอย่างเช่นการขับเครื่องบิน ในระยะนี้ เราไม่เคยขับเครื่องบินมาก่อน และเราก็ไม่รู้ว่าจะขับยังไง ในระยะนี้จะต้องพยายามผลักดันให้นักเรียนรู้ว่าตนเองยังไม่รู้อะไรเพื่อก้าวสู่ระยะต่อไป
- Conscious incompetence เราเริ่มสนใจที่จะอ่านคู่มือ วิธีการควบคุมเครื่องบิน แล้วเราเริ่มตระหนักว่าเราไม่สามารถทำมันได้ นักเรียนจะเริ่มตระหนักว่าไม่รู้อะไร แล้วต้องการที่จะเรียนรู้
- Conscious competence เราเรียนรู้การขับเครื่องบินแล้ว เราสามารถที่จะขับเครื่องบินได้ แต่ยังต้องอาศัยความตั้งใจอย่างมาก ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้มาตลอดเวลา กล่าวคือยังไม่สามารถเป็นนักบินที่ดีได้ เป็นขั้นตอนที่นักเรียนจะเริ่มทำได้แล้ว แต่ยังต้องมีความตั้งใจอย่างมากการพัฒนาจะเริ่มเป็นไปอย่างข้าๆ
- Unconscious competence เราสามารถขับเครื่องบินได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ความใจจดใจจ่อมากเกินไป ไม่ต้องอาศัยความพยายามมากเหมือนระยะก่อน ระยะนี้นักเรียนจะสามารทำสิ่งที่เรียนใหม่ได้เองโดยอัตโนมัติ
The classroom
การเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นสิ่งที่มีมาอย่างยาวนาน แต่มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย เพื่อให้เข้ากับบริบท และความรู้เกี่ยวกับทฤษฏีการสอนต่างๆ เช่นจากเดิมการเรียนการสอนอาจจะเป็นการถ่ายทอดจากครู ไปสู่ศิษย์โดยตรง ต้องมีการติดตามครู หรืออาจารย์เพื่อเรียนรู้วิชาต่างๆ พัฒนาตนเองไปสู่จุดนั้นเช่นเดียวกันกับอาจารย์ ไปสู่การเรียนแบบมีครูผู้สอนในห้อง แล้วมีนักเรียนหลายๆ คนเป็นผู้ฟัง (Lecture) ซึ่งก็ยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน แต่แนวโน้มห้องเรียนใน ศตวรรษที่ 21 มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็น การเรียนการสอนแบบ Group discussion หรือการเรียนการสอนเป็น Team มากขึ้น เมื่อเรียนจบแล้วจะมีการ Reflection เพื่อสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นก่อประโยชน์ทั้งตัวผู้สอน และนักเรียนเอง
รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนมีหลายรูปแบบตัวอย่างเช่น
Traditional classroom
รูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบดั้งเดิม มีผู้สอน และมีนักเรียนหลายคน อาจจะให้นักเรียนไปอ่านทบทวนบทเรียนมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แล้วมาฟังผู้สอน ทำการสอนในห้อง
The Flipped classroom
ภาษาไทยใช้คำว่า การเรียนการสอนแบบกลับด้าน ซึ่งแปลตรงไปตรงมาเพราะห้องเรียนแบบเดิมจะให้บทบาทครูผู้สอนเป็นหลัก แต่เมื่อเป็นการเรียนแบบ Flipped classroom จะเปลี่ยนบทบาทสำคัญกลับมาที่ผู้เรียน
การเรียนการสอนแบบนี้ถูกคิดค้นโดย Jonathan Bergmann และ Aaron Sams ขณะทำการสอนในโรงเรียน Woodland park ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากนักเรียนหลายๆ คนไม่มีเวลาในการเข้าชั้นเรียนมาทำการเรียนการสอนแบบปกติ (traditional)
การเรียนการสอนแบบ Flipped classroom นั้นผู้เรียนจะต้องทำการเตรียมศึกษาเนื้อหา ต่างๆ โดยสื่อการเรียนรู้บางส่วนอาจารย์จะเป็นผุ้จัดเตรียมไว้ให้ เมื่อถือเวลาในห้องเรียนจะเป็นเพียงแค่การนำสิ่งที่ได้ไปศึกษามาก่อนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถามปัญหา โดยมีอาจารย์เป็นผู้ช่วยทบทวน แก้ไขความเข้าใจต่างๆ 2
หลักสำคัญคือ ก่อนชั้นเรียนผู้สอนจะต้องเตรียมกิจกรรมทั้งหมด และในชั้นเรียน จะต้องมี Key ที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน มีการ Reflection ในขั้นตอนสุดท้าย และสรุปซ้ำอีกครั้ง
Team based learning
รูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง (Student-centered) นอกจากนี้ยังใช้หลักการของ Flipped classroom ร่วมด้วย 3
ขั้นตอนต่างๆ ดังแสดงในภาพ
- Pre-class preparation ต้อง specific ว่าให้อ่านหัวข้ออะไรบ้าง อย่าให้ผู้เรียนเสียเวลาเยอะ
- IRAT แต่ละคนทำแบบฝึกหัด ไม่ควรจะเยอะ 5-10 ข้อไม่ต้องเฉลย
- TRAT มีแบบฝึกหัดให้ไปทำแบบกลุ่ม ไม่เฉลย
- Immediate feedback ค่อยมาเฉลย แล้ว discussion เหตุผลกัน อาจจะไม่ต้องรีบเฉลยเหตุผลก่อน
- Clinical Problem-solving activities มี case ตัวอย่างเพื่อให้เรียนรู้ร่วมกัน
- Close ปิดท้ายด้วย feedback หรือทำแบบทดสอบอีกครั้ง
ข้อดีของ Team-based learning
- ทำงานเป็นทีม
- การแก้ปัญหา
- การ discussion กันเอง และกับอาจารย์ทำให้ได้รับ immediate feedback
- นักเรียนได้ student peer evaluation (ประเมินกันเอง)
Skill teaching
การสอนด้านทักษะ โดยเฉพาะนักเรียนแพทย์จะมีความแตกต่างกับการเรียนในห้องเรียน
- ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ผู้ป่วยจำลองในการซักประวัติ และการฝึกต่างๆ
- Psychomotor learning ซึ่งเป็นการเรียนด้านทักษะ มีขั้นตอนจาก
- Imitation เริ่มเรียนรู้จากอาจารย์
- Control ฝึกฝนภายใต้สภาวะแวดล้อมควบคุม มีอาจารย์คอยช่วยเหลือ
- Automatism ทำได้เอง
Trinity of education
OLE
- O: Objective จะสอนอะไร
- L: Learning สอนอย่างไร
- E: Evaluation จะรู้ได้อย่างไรว่าเขารู้
Lesson Plan
ทำไมต้องทำ?
- นศ. รู้เป้าหมาย ประเมินตนเอง
- อาจารย์ เชื่อมโยงสอดคล้องหลักสูตร สอนได้ตามหลักสูตร ยกตัวอย่างเช่น อะไรยากมากๆ ให้ทำเป็น Lecture
- ผู้บริหาร รู้ความเชื่อมโยงของแต่ละวิชา ลดความซ้ำซ้อน
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำแผนการสอน
- ผู้เรียนคือใคร
- เรียนอะไรมาแล้ว ต้องรู้อะไรมาก่อน
- ทำอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้เรื่องนี้
- ทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนได้เรียนรู้จริง
โครงสร้างแผนการสอน/แผนการศึกษา
เรื่อง: ..........
สำหรับ: นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่......
อาจารย์ผู้สอน ...........
ระยะเวลา ...........
สถานที่สอน ...........
ความรู้พื้นฐาน (Prerequisite knowledge) ...........
วัตถุประสงค์
เมื่อผ่านการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์สามารถ
1...........
2...........
3...........
เนื้อหา
...........
กิจกรรมการเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ก่อนเข้าชั้นเรียน
...........
ในชั้นเรียน
...........
โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน
1............
2............
3............
การประเมินผล
1.ในชั้นเรียน
1.1 การสนใจและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
2. การสอบ
2.1 Multiple choice question (MCQ)
2.2 Modified essay question (MEQ)
2.3 CRQ, KF
2.4 Objective structured clinical examination (OSCE)
แหล่งเรียนรู้ (Reference)
1............
2............
การเขียน Objective
ต้องเขียนให้ครอบคลุม Educational domain สามารถใช้ตัวย่อเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้นคือ “CPA”
- Cognitive : Head (ความรู้ในทฤษฏี)
- Psychomotor : Hand (Skill,ทักษะ)
- Affective : Heart (คุณธรรม จิตพิสัย)
หลักการเขียนเป็นข้อความเพื่อช่วยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะมีตัวย่อ “ABCD” ที่จะช่วยให้สามารถเขียนได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 สามารถวินิจฉัยแยกโรคได้จากการซักประวัติอย่างน้อย 3 โรค
เมื่อเอาตัวย่อ “ABCD” มาใส่ตามตำแหน่งต่างๆ จะเป็นดังนี้
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน A : Audience นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 B : Behavior สามารถวินิจฉัยแยกโรค C: Condition ได้จากการซักประวัติ D: Degree อย่างน้อย 3 โรค
นอกจากหลักการเขียนดังกล่าวข้างต้นแล้วการสร้างวัตถุประสงค์จะต้องคำนึงถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น (Learning outcome) ตามหลัก Bloom’s taxonomy ดังภาพ
จากภาพข้างต้นจะเห็นว่าหากจะต้องการผลลัพธ์ให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียน (Applying) การเขียนวัตถุประสงค์จะต้องระบุให้ชัดเจนให้มีคำว่า “แสดง” เป็นต้น
เทคนิคเพิ่มเติมในการเขียนวัตถุประสงค์ประกอบแผนการสอนคือให้ตั้งเป้าหมายที่สูงที่สุดที่อยากให้เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยมาวางแผนการสอนจาก Process ข้างล่างเพื่อขึ้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
ทุกแผนการสอนควรจะมี Non-technical skill ด้วย
Content
ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการเขียนเนื้อหา หรือ Learning ในส่วนของ “OLE”
หลักการสำคัญที่ควรจะคิดทบทวนก่อนเริ่มเขียนคือ
- ตรวจสอบ Prerequisite knowledge โดยการกำหนดให้ชัดเจน เรื่องพวกนี้จะไม่ได้รับการสอน เนื่องจากได้รับการเรียนมาแล้ว
- Content จะต้องระบุให้ละเอียดครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการสอนหรือให้เรียนรู้ สามารถออกข้อสอบได้ตาม content โดยไม่ต้องสอนทุกเรื่อง
- Pretest จะเป็นตัวช่วย กระตุ้นเข้าสู่การเรียนรู้
Learning experience
การจัดการเรียนการสอนขึ้นกับหัวข้อที่จะสอน ตามหัวข้อการเรียนรู้ เช่น Lecture, Team-based learning โดยพิจารณาจากข้อดี-ข้อเสีย ความเหมาะสมของเนื้อหา และความพร้อมของสิ่งแวดล้อมต่างๆ
สิ่งสำคัญในการเขียนแผนการสอนจะต้องระบุ สื่อการสอน ให้ชัดเจน เพราะสำคัญต่อการเตรียมของผู้เกี่ยวข้องเช่น นักวิชาการ
Knowledge
การสอนในส่วนของความรู้จะต้องมีทั้ง Cognitive และ Affective domain
ก่อนชั้นเรียน
- แจ้ง Prerequisite ไว้ก่อนให้เด็กทราบมาก่อน
- Study guide ให้ศึกษาก่อนเรียน มี outcome ของ Study guide ชัดเจน
ในชั้นเรียน
- ต้องลงรายละเอียดชัดเจน
- ควรสอนให้มีการตอบสนองของผู้เรียนเป็นระยะๆ โดยใช้เทคนิคต่างๆ
Psychomotor
การสอนด้านทักษะ จะต้องประกอบด้วย domain ทุกด้านคือ Cognitive, Psychomotor และ Affective domain
ก่อนชั้นเรียน
- มี Prerequisite
ในชั้นเรียน
- การสอนต้องใช้เวลามากพอ
- การประเมิน สามารถประเมินจากการปฏิบัติงาน, สอบ OSCE, Long case, WPBA
Closure
การสอนทั้งด้าน Knowledge และ Psychomotor เมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วมีสิ่งที่ต้องทำคือ
- สรุปความเข้าใจ
- เปิดโอกาสให้ซักถาม
Evaluation
การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายของการเขียนแผนการสอนในรูปแบบ “OLE” โดยมีหลักการง่ายๆ คือ
- การประเมินผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาที่ตั้งไว้
- ต้องกำหนดวิธีประเมินผลที่ชัดเจนให้ผู้เรียนรับทราบ
Reference
สิ่งสำคัญที่ผู้สอนอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก แต่มีประโยชน์กับผู้เรียนในกรณีที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม
- ต้องบอก Reference ให้ชัดเจน ระบุ หน้า ถึงหน้าใด
- ปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- เขียนตาม Vancouver style
ปัญหาการเขียนแผนการสอน
เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากการทบทวนแผนการสอนต่างๆ เพราะฉะนั้นในการเขียนแผนการสอนควรจะต้องระวังข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น
- ไม่เขียน ไม่รู้ว่าต้องเขียนอย่างไร
- ไม่รู้ความสำคัญ
- เขียนกว้างเกินไป
- ต้องมี Domain อื่นๆ ไม่ใช่เฉพาะ Knowledge อย่างเดียว
- ไม่ระบุ Learning experiences ทำให้นักเรียนทราบว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
- ไม่ระบุวิธีประเมินผล