Rubric scoring คืออะไร ผู้อ่านบางคนอาจจะเคยรู้จักมาก่อนหน้านี้ หรือแม้กระทั่งเคยใช้งานมาแล้ว แต่อาจจะไม่เคยทราบว่ามันเรียกว่าสิ่งนี้ ลองมาทำความรู้จักกับ ”สิ่งนี้” กัน
What is Rubric scoring
a rubric is a “scoring guide used to evaluate the quality of students’ constructed responses” - wikipedia
หรือนิยามอย่างง่ายคือชุดเงื่อนไขการให้ระดับคะแนนสำหรับงานที่ได้รับมอบหมาย 1 โดย Rubric score จะเป็นเครื่องมือในการให้คะแนน ประเมินด้าน Performance
ก่อนจะใช้ Rubric จะต้องแยกการประเมิน แต่ละด้านคือ Knowledge, Skill, Attitude เพื่อจะพิจารณาว่าจะตั้งเกณฑ์การประเมินแต่ละด้านอย่างไร ไปถึงระดับไหน (อ้างอิง Miller’s pyramid)
หัวใจสำคัญของ Rubric คือ สามารถนำผลการประเมินเพื่อไป feedback ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในลักษณะการประเมินแบบ Formative assessment
The Rubric scoring
ตัวอย่าง Rubric scoring2
จากตัวอย่างข้างต้นระบบการให้คะแนนแบบ Rubric scoring ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ 3 องค์ประกอบ
- Components/Criteria สิ่งที่อาจารย์จะประเมิน ว่าอาจารย์จะประเมินอะไรบ้าง
- Scale/scoring/performance level ตั้งระดับมาตรฐานในการประเมิน ว่าจะมีกี่ระดับ กำหนด Range คะแนน
- Quality (Descriptors) ลงรายละเอียดในแต่ละช่อง เช่นถ้าสูงกว่ามาตรฐาน ในระดับนี้ต้องทำอะไรได้บ้าง หรือต่ำกว่ามาตรฐานดูว่าทำอะไรได้แค่ไหน
และเกณฑ์การให้คะแนนสำหรับ Rubric scoring หรือ Label ที่หัวตาราง จะมีลักษณะเป็นคำบรรยายแต่ละระดับ เช่น
- Exceeds expectations ดีมาก
- Meet expectations ผ่านตามความคาดหมาย (MPL)
- Approaches expectations (borderline) กลุ่มที่กำลังจะผ่าน เกือบผ่าน
- Does not meet expectations (below expectations) กลุ่มที่มีสิ่งที่ยังต้องพัฒนาอีกหลายด้านเพื่อให้ผ่านวัตถุประสงค์
Rubric VS Scoring guide
Scoring guide คือ การให้คะแนนตามระดับความสามารถนักเรียน เช่น 3
- 3/3 = Full credit Student answered all parts of the question correctly
- 2/3 = Partial credit Student answered most parts of the question correctly
- 1/3 = Partial credit Student answered some parts of the question correctly
- 0/3 = No credit Student answered all parts of the question incorrectly, or did not answer the question
รายละเอียดความแตกต่างดังตาราง
Rubric | Scoring guide |
---|---|
A set of factors with a range of performance for each | Assign point values to various levels of student performance |
Demarcate different levels of performance in relation to a standard | Students can earn full or partial credit for mastering standard |
Assign ratings based on how well a student’s response meets a level of performance | In short, it is a grading point aims to assign a certain credit to a student |
จากตารางจะเห็นว่า Scoring guide นับกันที่_ปริมาณ Quantity_ ไม่ได้เน้นที่_คุณภาพ Quality_ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่แตกต่างกับ Rubric ที่ Focus ทั้ง Quality และ Quatity
โดย Rubric จะประเมินการให้คะแนนว่าสามารถบรรลุตามเป้าหมายของอาจารย์ได้ในระดับใด แต่ Scoring guide จะดูว่าทำได้หรือไม่ได้ แค่ไหน ไม่ได้สนใจใน Quality
Rubric VS Likert scale
Likert Scale จะมีลักษณะการให้คะแนนมิติเดียว เป็นลำดับ Ordinal scale มีค่าจากน้อยไปมาก4
ตัวอย่าง
ต่างจาก Rubric scoring ตรงที่ไม่มีส่วนของ Descriptor อธิบายในแต่ละระดับคะแนน (ขาดด้าน Quality)
Benefit of Rubric scoring
ด้วยรูปแบบของ Rubric scoring ที่มีส่วนของคำอธิบายระดับคะแนนส่งผลให้มีความสามารถเชิงคุณภาพ ช่วยในการติดตามการพัฒนาได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างข้อดีของการใช้ Rubric scoring
- ใช้ได้ทั้ง formative และ summative
- สามารถวัดได้ทั้ง process และ product
- สามารถส่งรายละเอียดการประเมินให้นักเรียนดูได้ ประเมินตนเองว่าต้องทำอะไรอีกบ้างเพื่อให้ได้มาตรฐานในขั้นต่อไป
- ระบุจุดอ่อนจุดแข็งในแต่ละ component ของเรื่องที่สอบได้
- สามารถใช้ติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนได้
- นักเรียนสามารถใช้เป็น self-assessment
- Standardize grading ลดเรื่อง subjective ของผู้ประเมินไปได้
The authentic assessment for LEARNING
เป็นข้อดีของ การใช้ระบบ Rubric scoring ในการประเมินเนื่องจากสามารถใช้ Rubric ในการติดตามพัฒนานักเรียนในระหว่างการเรียนได้ โดย
- นักเรียนจะต้องถูกประเมินเรื่องการเรียน มากกว่าที่จะตัดสินเกรด
- ควรจะต้องทำให้เกิด Higher level thinking จากการเรียนรู้
- จะต้องมีความโปร่งใสในการประเมินนักเรียน
- นักเรียนสามารถทำ Self-assessment ได้
- สนับสนุนการ feedback ให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะเติบโตจากสิ่งที่ได้เรียน
Construct a rubric scoring
การสร้าง Rubric scoring จะต้องย้อนกลับไปที่ส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วนที่จะต้องคำนึงถึง คือ Component, Performance level และ Desciptor
Performance | Performance | Performance | Performance | |
---|---|---|---|---|
Component 1 | Descriptor | Descriptor | Descriptor | Descriptor |
Component 2 | Descriptor | Descriptor | Descriptor | Descriptor |
Component 3 | Descriptor | Descriptor | Descriptor | Descriptor |
Component 4 | Descriptor | Descriptor | Descriptor | Descriptor |
Component
ส่วนประกอบด้าน Component จะต้องประเมินว่า Rubric score ที่จะใช้ต้องการประเมินด้านใดบ้าง โดยแตกย่อยมาเป็นด้านต่างๆ ควรมีทั้ง Knowledges, Skill และ Attitude
Performance level
กำหนดระดับการให้คะแนน เป็นระดับต่างๆ จะใช้เป็นคำอธิบาย เหมือน Label ข้างต้น หลีกเลี่ยงการใช้ระดับ Performance level เป็นจำนวน_”คี่”_ เพื่อป้องกัน The middle trend กล่าวคือ การที่ผู้ประเมินจะเลือกลงตรงกลาง แล้วนำไปสรุปแปลผลยาก หรือใช้ตัวเลขประกอบ Label เพื่อเพิ่มความเข้าใจได้
Descriptor
ต้องมีการกำหนดคุณลักษณะการได้มาซึ่งแต่ละระดับโดยต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
- เป็นสิ่งที่่สามารถสังเกตได้
- ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน
- เรียงตามลำดับจากมาตรฐานสูงไปต่ำ หรือต่ำไปสูง
Technique ในการกำหนดคุณลักษณะ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปสร้าง Rubric คือ ให้เริ่มจาก มาตรฐานก่อน แล้วค่อยไปสิ่งที่ตกมาตรฐาน