skip to content
B L O G

Student support

/ 3 min read

อ.พนม เกตุมาน

Student support ทำให้นศพ.มีความสุข ไม่ใช่เฉพาะตอนมีปัญหา รวมถึง Well-being

Part หนึ่งของการประเมิน WFME

เป้าหมายของ Student support

  1. ปัญหาที่เกิด การป้องกัน
  2. ระบบดูแลนักศึกษา
  3. อาจารย์ต้องทำอะไร

ควรจะตอบให้ได้ว่า อยากได้ลูกศิษย์ เป็นอย่างไร สร้าง Shared goal

รวบรวมข้อมูลปัญหาจากที่ผ่านมา

ปัญหา 5 ข้อ จาก สพท.

  1. ความเครียดในการเรียนการสอนที่เกิดจากอาจารย์
  2. ระบบการศึกษาและหลักสูตรที่ไม่เอื้อต่อนิสิตนักศึกษา
  3. สภาพแวดล้อม เพื่อน และสังคมภายในคณะ
  4. ภาระงาน และข้อกำหนดช่ัวโมงการทำงานที่มากเกินไป
  5. ระบบกิจการนิสิตมีปัญหา เช่น ความน่าเชื่อถือ การจัดการปัญหาที่นิสิต นักศึกษาร้องเรียน

ข้อมูลจากศิริราช พบว่า นศพ. Burn out 30%

เกิดจากสาเหตุต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

  • Verbal >95%
  • Discriminative >80%
  • Power 70%
  • Physical ~20%

แหล่งที่มาของปัญหา

  • Teachers 85%
  • Nurses 65%
  • Residents 50%
  • Colleagues ~40%
  • Senior 20%

Burnout สัมพันธ์กับ Engagement

ซึ่งไปสัมพันธ์กับ ผลการเรียน คือ engagement ที่ต่ำ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนที่ต่ำลงด้วย

Challenges

  • Feedback/bully
  • Learning Atmosphere
  • Teacher and Student Adaptation Work-life balance
  • Teacher Student Relationship ความสัมพันธ์ สามารถรับฟังนักศึกษา
  • Learning organization in Changed Society ปัญหาคือครูแพทย์ปรับไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม และเทคโนโลยี
  • Mental Health Support

Gap ของ ระบบ Student support

  1. Non-technical skills
  2. Data Management
  3. Learning Process
  4. Mental Health support Stress, Depression
  5. Generation Gap Individual difference, Goal of life, Values, Work-life Balance

ตัวอย่างแบบประเมินตนเอง ของ รพ.ศิริราช ด้าน Student support

ให้ลองประเมินตนเองตามนี้ (วันที่ประเมินคือวันที่เรียน)

หัวข้อประเมินตนเอง 55/100

  1. Student support system : 8
  2. Vision Strategies (Shared) : 3
  3. Activities Goal Assessment : 0
  4. Student development enhancement: 7
  5. Early Detection of Problem : 5
  6. Intervention : 9
  7. Research/ Knowledge Management : 7. (วิจัยมาจับ และนำผลมาพัฒนา)
  8. Staff Development : 3
  9. Student Collaboration and Engagement : 8 (มีการประชุม ปรับปรุง รูปแบบระยะเวลา รูปแบบการเรียน)
  10. Culture cultivation : 5

Enhance student development (ศรร. Cultivate SKILLS)

ตัวอย่าง

  1. Soul : จิตวิญญาณ คุณธรรมคำนึงถึงผู้ป่วย รับผิดชอบสังคม
  2. Knowledge : ความรู้ทางวิชาชีพ
  3. Information : บริหารข้อมูล สื่อ เทคโนโลยี
  4. Learning : เรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  5. Leader : ทักษะผู้นำ ทักษะชีวิต
  6. Skills : ทักษะทางวิชาชีพ

(แผนการพัฒนาควรมีการ blend ไปกับหลักสูตร ควรจะเป็นสมัครใจ และเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย)

คำถามที่น่าสนใจคือนักศึกษาแต่ละคนพัฒนาอะไรได้บ้าง (ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน)

ติดตามการพัฒนา

  1. กิจกรรม Reflection / Record
    1. จัดโดยทีมกิจการนักศึกษา
    2. จัดโดยนักศึกษา
  2. E-portfolio Assessment Feedback >>>> สามารถติดตาม Progression ของตนเอง (ทั้งอาจารย์และนศพ.)
นักศึกษาเขียน ตรวจโดย อาจารย์สายรหัส และ feedback
  3. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา/ทั่วไป สายรหัส

Transformative Learning

เป็นกิจกรรมที่เริ่มจากปฏิบัติ สังเกต คิด สนทนา ถอดบทเรียน สร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายใน แล้วนำไปสู่การปฏิบัติ

Types of Transformative activities เป้าหมายของทุกกิจกรรมคือต้องการให้เกิดสภาวะ mindfulness

  1. Mindfulness meditation
  2. Arts
  3. Movement (Dancing)
  4. Group (Field Trip)
  5. CSR

E-Port and Reflection

  1. บันทึกการเรียนรู้ สะสมตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ
  2. แสดงพัฒนาการด้านต่างๆ ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  3. ใช้ทบทวน /
  4. อาจารย์เห็นความก้าวหน้า / ช่วยแนะนำ (Feedback)

E-Port Systems

ต้อง Integrate การเรียน ข้อมูลการพัฒนาเรื่อง SKILLS การให้สิทธ์อาจารย์แค่ที่ปรึกษา เข้าไปดูเพียงคนเดียว ทำให้อาจารย์เกิดการอยากพัฒนา

Reflection วิธีการเขียน

  • ความคาดหวังก่อนการเรียนรู้
  • ประสบการณ์เรียนรู้
  • ความสัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม
  • การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
  • การนำไปใช้ประโยชน์
  • ข้อเสนอแนะ

พัฒนาอาจารย์

เพื่อให้เกิดการพัฒนาของระบบ Student support จะต้องมีทีมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเช่น แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้มีทักษะในด้านการดูแลนักเรียน

สอน Reflection อาจารย์

สร้างความเข้าใจให้อาจารย์สามารถ ทำ Reflection กับนักเรียนได้ ทำให้เกิดทั้งความสัมพันธ์และความเข้าใจกัน

  1. ตรงตามเป้าหมาย 4 ข้อ
  2. ข้อดีข้อด้อย

อาจารย์ที่ปรึกษา

ควรมีความสามารถในการทำ Constructive feedback เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่นักเรียนได้

มีข้อกังวลเรื่องของการขอความร่วมมืออาจารย์ที่ปรึกษาเนื่องจาก อาจารย์บางท่านอาจจะไม่อยาก หรือไม่ให้ความร่วมมือในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา สามารถแก้ไขได้หลายๆ Solution เช่น

  1. การเพิ่มค่าตอบแทน Incentive
  2. การจัดการเรื่องภาระงาน เช่น มอบหมายให้เป็นงานการดูแลนักศึกษา และลดระยะเวลาการทำงานด้านอื่นลง
  3. การคิดเป็นภาระงาน เทียบกับการให้ P4P ตอบแทนในกรณี โรงพยาบาล สป.คือ ให้อาจารย์มีคะแนนเพิ่มเติมจากการเป็นที่ปรึกษา

บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา /Mentoring

  1. เตรียมอาจารย์ >>> รับทราบและจัดอาจารย์ที่เข้าใจ
  2. สังเกตพฤติกรรม
  3. ใช้การสื่อสารด้านบวก
  4. ประสานภายในภาควิชาที่อาจารย์รับผิดชอบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
  5. จัดกิจขกรรมและประเมินผล
  6. ถ้ามีอาการมาก >>> ให้หยุด และให้คะแนะนำได้
  7. สังเกตผู้ที่เริ่มเป็นใหม่
  8. ปรึกษา

อาจารย์สายรหัส

เป็นการเชิญชวน ไม่ใช่การรับสมัคร ไม่เหมือนอาจารย์ที่ปรึกษา

  1. สร้างความสัมพันธ์ >>> มีการรวม Resident หรือ intern ในสายรหัสมาด้วย
  2. ให้คำปรึกษาแนะนำ/สร้าง
  3. Feedback / E-Portfolio
  4. ร่วมทุกข์-ร่วมสุข >>เช่นไปเยี่ยม นศพ. เมื่อป่วย / ไปแสดงความสำเร็จเช่น รับเสื้อกาวน์
  5. เมื่อป่วย แนะนำเบื้องต้น และส่งต่อ / ติดตาม

บทบาทอาจารย์สายรหัส

  1. ติดตาม/พัฒนานักศึกษา
  2. ตรวจ e-portfolio และ feedback

สุขภาพจิต (Mental Health)

ให้ความหมายว่า อารมณ์เป็นสุข มีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ป่วยทางร่างกายและจิตใจ

Mental Health/Mental Wellness

Mental Wellness มากกว่าการไม่มีความเครียดและซึมเศร้า คือมีความสุข

If you are not OK?

note : Depression เริ่มเจอบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ ปี 1 Depression เป็น Biological เกิดขึ้นเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีสาเหตุ เพราะเป็นปัจจัย Genetic ถ้าเป็นแล้วจำเป็นจะต้องรู้ ตนเอง ครู

Depression

เริ่มมีการวินิจฉัยในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษามากขึ้น ให้พยายามสังเกตอาการ และประเมินการวินิจฉัยตามเกณฑ์ดังกล่าว

อาการ

  1. กังวล กลัว
  2. พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม
  3. หลบเลี่ยง ขอลาออก
  4. เบื่อชีวิต
  5. ฆ่าตัวตาย

5/9 ข้อ ควรถามเป็นระยะๆ screening เรื่อยๆ

  1. อารมณ์เศร้า ไม่มีความสุข เบื่อหน่าย ท้อแท้
  2. หมดความสนใจ
  3. เบื่ออาหาร
  4. นอนไม่หลับ
  5. ความคิดและการเคลื่อนไหวช้า
  6. เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย เบื่อชีวิต
  7. สมาธิความจำไม่ดี
  8. คิดว่าตัวเองไร้ค่า ผิด เป็นภาระผู้อื่น
  9. คิดอยากตาย

เมื่ออาจารย์ทราบว่านักเรียนจะเป็น Depression อาจารย์จะทำอย่างไร

  1. รับฟัง
  2. สร้างความสัมพันธ์
  3. ช่วยเหลือ >>> ถ้าไม่อยากมาพบจิตแพทย์ ถ้าไม่อยากมา ให้ Counselling (อาจารย์ใช้ทักษะตัวเองได้เลย)
  4. ส่งต่อ >>> กรณีทำไม่ได้

การส่งต่อจิตแพทย์

  1. ให้ความรู้เบื้องต้น >>> โรคซึมเศร้าหายได้ กินยา-หยุดยา กลับไปทำงานได้ ทำให้ไม่น่ากลัว
  2. จูงใจให้เห็นประโยชน์ >>> บอกให้เห็นว่าหายได้เหมือนเดิม
  3. ไม่มีอันตราย เน้นการเก็บความลับ >>> ไม่เปิดเผย โดยไม่อนุญาต
  4. อาจารย์ยังดูแลต่อไปร่วมกับจิตแพทย์ >>> ต้องดูแลร่วมกัน

ประเด็นพิจารณา กรณี นักศึกษาถูกวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า ควรมีการส่งต่อข้อมูล หรือแจ้งอาจารย์ท่านอื่นๆ หรือไม่

ควรขออนุญาต นักศึกษา ก่อน ให้พูดคุยสอบถาม ว่าอยากให้อาจารย์ประสานอย่างไร กรณีต้องการแจ้งเอง หรือให้อาจารย์ประสานให้

Positive Psychology

เครื่องมือ จิตวิทยาเชิงบวก Positive Psychology เชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเน้นเชิงบวกมากขึ้น

PERMA : five factors of well-being

  1. Positive emotion >>> สนุก เครียดนิดๆ ทำแล้วรู้สึกดี
  2. Engagement >>> ต้องทำให้กิจกรรมมี engagement ที่ดี
  3. Relationships >>> ทำให้เกิดความสัมพันธ์ภายใน
  4. Meaning and purpose >>> ทำให้เกิดคุณค่าในตนเอง
  5. Accomplishment

กิจกรรมที่ทำให้เกิด 5 ข้อด้านนี้จะทำให้เกิด Positive psychology

เป้าหมายคือทำให้เกิด “Flow” คือ Challenge สูง และใช้ทักษะสูง

Figure รูปแสดง ความสัมพันธ์ระหว่าง Challenge และ Skills

บทสรุป

  1. พัฒนานักศึกษา
  2. Shared Vision/Goals
  3. พัฒนาอาจารย์/ระบบ Mentoring >>> ต้องมีระบบนี้ให้อาจารย์มีส่วนร่วม
  4. “สร้าง” ก่อน “ซ่อม” >>> Primary prevention พัฒนาให้ไม่เครียดไม่ป่วย เป้าหมายคือให้มีความสุข

คำถาม ชวนคิด ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์เคยมองเห็น Accomphlisment อะไรในตัวนักเรียนบ้าง