อ.รายิน ออโรร่า
The Theory
Learning is not the product of teaching, Learning is the product of the activity of Learners ~ John Holt
Bloom’s taxonomy
Bloom’s taxonomy 1 ประกอบด้วยแบบจำลอง (Model) 3 ชุดใช้ในการจำแนกวัตถุประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งตามระดับความซับซ้อน และจำเพาะของผลลัพธ์
Benjamin Bloom เสนอทฤษฏีการเรียนรู้ ในปี 1956 เรื่องผลลัพธ์ของการเรียนรู้ เนื่องจากต้องการที่จะแก้ไขลักษณะการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเฉพาะการจำเพียงอย่างเดียว ให้มีความสามารถในการนำไปใช้งานได้ซับซ้อนมากขึ้น ในตอนแรกได้นำเสนอในด้าน Cognitive domain ออกมาก่อน โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเพิ่มขึ้นตามความซับซ้อนของทักษะที่จะได้จากการเรียนรู้ หลังจากนั้นทฤษฏีนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขทุกๆ ปี จนมีนักจิตวิทยาเพิ่ม ผลลัพธ์อีก 2 ด้าน คือ Affective domain (Emotional) และ Psychomotor domain (Physical) ดังภาพ2
ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบการเรียนรู้ตั้งเป้าหมายของผลลัพธ์การเรียนและการประเมินผลที่ชัดเจนมากขึ้น ตามความซับซ้อนของการานำไปใช้ เช่นการที่จะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ (Application) จะมีความซับซ้อนที่สูงกว่าเพียงแค่เข้าใจความรู้นั้นๆ เพียงอย่างเดียว (Understanding)
ต่อมาในปี 2001 กลุ่มนักเรียนของ Bloom นำโดย Lorin Anderson ได้ทำการแก้ไข Bloom’s Taxonomy จุดประสงค์เพื่อให้ผู้สอนได้มุ่งเป้าไปที่ การสอนและการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นจากการประเมินเพียงอย่างเดียว โดยจะเน้นเป็นความสามารถในแต่ละลำดับชั้น นอกจากนี้ยังมีการสลับ 2 ลำดับบนสุด ให้ Create อยู่สูงกว่า Evaluate เพราะจะเน้นที่ผู้เรียนจะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างไร
ภาพเปรียบเทียบ Bloom’s taxonomy แบบดั้งเดิม และแบบที่ได้รับการแก้ไขในปี 2001
ในภายหลังเริ่มมีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านออกมาให้ความเห็นว่า Bloom’s taxonomy ที่เป็นลักษณะของพีรามิดนั้น อาจจะไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด เนื่องจาก Bloom’s taxonomy ไม่มีการนำความรู้เดิมของผู้เรียน (Preexisting knowledge) เข้ามาร่วมพิจารณาในประเด็นนี้ ยิ่งกว่านั้นยังไปเน้นในส่วนของ การเรียนที่จะต้องเริ่มจากฐานรากสุดไปยังบนสุด ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป้าหมายเป็นลำดับชั้นเช่นนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างการเรียนรู้ ในความเป็นจริงนักเรียนสามารถที่จะกระโดดไปมาระหว่างลำดับต่างๆ ในระหว่างที่ได้รับการเรียนการสอน ซึ่งไม่ควรจะให้ความสำคัญเป็นลำดับชั้นเหมือนของ Bloom’s taxonomy มากนัก ดังภาพ
ถึงแม้จะมีข้อโต้เถียงมากมายเกี่ยวกับ Bloom’s taxonomy แต่ข้อดีคือ การที่ผู้สอนสามารถที่จะเตรียมการเรียนการสอน ตั้งวัตถุประสงค์ที่คาดหวังและวิธีการประเมินผลที่ชัดเจนได้
Good Learning!
การเรียนรู้ที่ดี จะต้องทำให้เกิด 3 สิ่งต่อไปนี้
- Motivation to learn ต้องสร้างให้เกิดแรงผลักดันในการเรียนรู้ ทำไมถึงอยากเรียนหัวข้อนี้
- Experiential learning เรียนรู้จากการปฏิบัติส่งเสริมทั้ง Social skill, Communication skill และ Problem-solving เรียนอย่างไรถึงรู้เรื่อง
- Formative assessment มีการให้ feedback เพื่อการประเมินตนเอง สามารถตรวจสอบตั้งแต่ระหว่างเรียนได้ทันที รู้ได้อย่างไรว่ารู้เรื่องแล้ว
Learning process
- Schema Principle เป็นเทคนิคการสอนที่จะช่วยให้การสอนสำเร็จได้มากขึ้น มี 3 ขั้นตอน
- Schema activation เป็นการกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนพร้อมสำหรับการเรียนที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่นการใช้คำถามโดยไม่ได้มุ่งหวังที่จะให้นักเรียนตอบได้ แต่ต้องการสร้างความสนใจ เรียกความรู้เก่าๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้ประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียนได้อีกด้วย
- Schema construction เน้นที่การวางลำดับเนื้อหาที่จะต้องสร้างการเรียนรู้ โดยเริ่มจากเรื่องที่ง่ายไปยาก หรือจากเรื่องใกล้ตัวค่อยๆ ออกไปเรื่องไกลตัว เพื่อไม่ให้เข้าใจยากเกินไป หรือเกิดความสับสน
- Schema refinement ขั้นตอนนี้อาจารย์จะสรุปเองก็สามารถทำได้ แต่วิธีที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเรียนการสอนควรให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
Kolb’s Experiential Learning
กระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนนำเสนอโดย David Kolb 3เน้นที่กระบวนการการเรียนรู้ของมนุษย์จะต้องลงมือทำดังภาพ
กระบวนการเรียนรู้ของ Kolb’s จะเริ่มจาก
- Concrete experience ขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ จะเริ่มจากการลงมือทำไม่ว่าจะจากประสบการณ์ หรือความรู้เดิม หรือจะลองทำสิ่งใหม่ๆ
- Reflective observation หลังจากนั้นจะเป็นการสะท้อนของผู้เรียน อาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ หรือนักเรียนด้วยกันเอง เพื่อรับและให้เสียงสะท้อน (Feedback) กับตนเองและผู้อื่น
- Abstract conceptualization เป็นขั้นตอนสอนบุคคลที่จะนำความรู้และการสะท้อนคิดที่เกิดขึ้นมาสร้างเป็นแนวทางการปฏิบัติของตนเอง (Conceptualization) จะเป็นผลลัพธ์ของสองขั้นตอนข้างต้น โดยแต่ละคนอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
- Active experimentation ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะนำความรู้ที่ได้สร้างแนวทางการปฏิบัติของตนเองไปลองใช้งาน เปรียบเสมือน Formative assessment ด้วยตนเอง สร้างความมั่นใจให้กับตนเองมากขึ้น และในท้ายที่สุดก็จะนำพากลับไปสู่ขั้นตอนแรก Concrete experience อีกครั้งเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ
Cone of Learning
เป็นพีรามิดที่แสดงถึงความสามารถในการจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ นำเสนอโดย Edgar Dale 4
จากภาพจะเห็นว่าวิธีการจดจำด้วยวิธีการเรียนแบบต่างๆ นั้นย่อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการเรียนที่เป็นแบบ Passive เช่น การฟัง, อ่าน, หรือดู เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำให้จดจำสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีนัก วิธีการเชิง Active เช่นการพูดคุยแลกเปลี่ยน หรือการลงมือปฏิบัติมักจะสามารถสร้างการจดจำได้ดียิ่งกว่า
The way students tackle their learning
นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ของตนเองได้ในรูปแบบต่างๆ เกิดจาก แรงกระตุ้น (Motivation) ทั้งภายใน (Internal) และ ภายนอก (External) - _Marton and Säljö (1976) 5
- Surface learning ผู้เรียนจะเรียนเรื่อยๆ เรียนทั่วๆ ไป ไม่ focus สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- Deep learning ผู้เรียนจะเริ่มคิดได้ว่าถูกสอนเรื่องอะไร และพยายามทำความเข้าใจ และจะมองในทุกแง่มุม
- Strategic learning ผู้เรียนจะตั้งเป้าหมาย แล้วเรียนเฉพาะเรื่องที่ตัวเองสนใจ เช่น ต้องการนำไปสอบเพื่อเก็บคะแนนเป็นต้น
Teaching methods
Lecture
”Process by which notes of a teacher become notes of a student without passing through the minds of either.” - M O’Donnell
”A Lengthy monologue promoting memorization of factual information with little emphasis on understanding and application” - JA Dent
ประโยชน์ของการใช้วิธีการสอนแบบ Lecture
- Overview เช่นตอนขึ้นกองใหม่ๆ ยังไม่มีอะไรเลย ให้พูดสั้นๆ ประมาณ 15-45 นาที (Overview of subject)
- Stimulate student’s interest เช่นต้องการ inspire อะไรสักอย่าง
- Recent research development ต้องตรงประเด็นสั้นๆ ในการสื่อสาร
- Case presentation นำเสนอ case ตรงไปตรงมา
- Authoritative speaker
- Time & Cost efficiency ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ปัญหาสำคัญของ Lecture คือ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการสื่อสารทางเดียว และถ้าจับกับทฤษฎี Learning curve in lecture (Bligh 1998) จะพบว่าความสนใจของนักเรียนส่วนใหญ่จะขึ้นกับผู้สอนเพียงเท่านั้น6
จากกราฟแกนตั้ง (Y-Axis) เป็นความสนใจของนักเรียนใน Class lecture จะเห็นว่า เมื่อระยะเวลาในแกนนอน (X-Axis) ผ่านไปเรื่อยๆ ความสนใจจะลดลง จะมี peak เล็กๆ ช่วง 12-15 นาทีแรก และก่อนหมดชั่วโมงเล็กน้อย การจะปรับให้ ระดับความสนใจของนักเรียนเพิ่มมากขึ้นอาจจะต้องมีการเพิ่มการพักระหว่างการเรียน หรือแม้กระทั่งกิจกรรมอื่นๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจกลับมา ดังภาพ เพราะฉะนั้น Lecture ที่ดีจะต้องมีการสร้าง ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียนเพื่อสร้างความสนใจให้ผู้เรียนตลอดเวลา การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะต้องเริ่มที่การเตรียมตัวตั้งแต่ ตัวผู้สอนเอง, การจัดวางเนื้อหา, สื่อการสอนที่น่าสนใจ
How to do an effective lecture?
- Good presentation skills ทักษะในการนำเสนอที่ดี เข้าใจง่าย กระชับ มีความน่าสนใจ
- Use questions to guide and assess understanding มีการโยนคำถามเพื่อประเมินความเข้าใจ หรือสร้างความสนใจในการเรียน
- Problem oriented VS Classical Model การสอนแบบมีตัวอย่างปัญหาอาจจะกระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนได้มากกว่าการสอนแต่ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว
- “Say what you are going to say, SAY it and SAY what you have said” ต้องชัดเจนในการพูด คือ มีการบอกว่าจะพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร พูดเกี่ยวกับเรื่องนั้น และสรุป
ข้อจำกัดของการใช้ Lecture คือ ไม่สามารถสร้าง Attitude ที่ดีได้ และ ไม่สามารถส่งเสริม Higher skill เช่น Application (ตาม Bloom’s taxonomy) ได้
Small Group Learning
ข้อดี
- Student-centered learning : Participation รู้สึกว่ามี Belonging ต่อชั่วโมงนั้น, Engagement
- Authentic to adult learning : ทำให้เกิดการเรียนแบบผู้ใหญ่ อาจจะลงไปถึงอายุ 14-15 เช่น เด็ก ม.ต้นก็อยากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- Deep learning : สร้างให้เกิดความเข้าใจแบบละเอียดทุกๆ เรื่องๆ
- Promote generic skills : สอน skills ต่างๆ เช่น Communication skills, Social & Team-working, Presentation, Interpersonal relationships
- Professionalism : สร้างความตื่นตัวในความต่าง
สาเหตุต่างๆ ที่อาจจะทำให้ การเรียนแบบ Small group ล้มเหลว
- ผู้สอน: ไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง, ไม่สามารถควบคุมกลุ่มให้ได้ตามวัตถุประสงค์, ต้องการลงรายละเอียดมากเกินไป
- ผู้เรียน: ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์การเรียนรู้, ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบกลุ่ม
Key success to small group
- ขนาดต้องจำกัด 8-12
Tutor
- Facilitating skill ทักษะแตกต่างจาก lecturer ที่จะต้องมุ่งช่วยเหลือกลุ่มให้ได้ตามวัตถุประสงค์
- Preparation ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี เพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์กลุ่ม
- Enthusiasm กระตือรือร้นมีพลังในการที่จะสอน
Student
- Preparation ต้องมีการเตรียมตัวก่อนการเรียน ในบางครั้งอาจจะต้องทบทวนบทเรียนมาก่อนเข้าชั้นเรียน
- Participation หากไม่มีส่วนร่วมจะไม่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างที่ต้องการ
- Study skills ทักษะในการเรียนมีส่วนสำคัญ เพราะนักเรียนแต่ละคนอาจจะมีทักษะที่แตกต่างกัน
- Study guide development ต้องมีแนวทางการเรียนรู้ที่ชัดเจน สามารถทำความเข้าใจเรื่องที่ต้องการก่อนเข้าชั้นเรียนได้
Resources
- Time ระยะเวลาเหมาะสม
- Room ขนาดห้องเหมาะสม
- Student / tutor ratio อัตราส่วนผู้สอนต่อผู้เรียน ประมาณ 1 : 8-12 คน
- Educational climate บรรยากาศการเรียนที่เหมาะสม
- Feedback การเรียนทุกอย่างต้องมี การ Feedback เพื่อให้เกิดวงจรการเรียนรู้
รูปแบบการสอน Small group learning แบบต่างๆ 7
Buzz group แบ่งกลุ่มย่อยๆ โดยให้คนข้างๆ มานั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน แล้วสลับสับเปลี่ยนกันไป
Snowball groups เป็นส่วนต่อยอดมาจาก Buzz group คือให้กลุ่มที่รวมตัวกันจาก คนเดียว เป็น 2 คน แล้วทีม 2 คนก็ไปรวมกับอีกทีมที่มี 2 คน ขยายไปเรื่อยๆ เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
Fishbowls จะทำการแบ่งเป็น 2 วง คือวงข้างใน (inner) และวงข้างนอก (outer) โดยจะเริ่มจากวงข้างในแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง ส่วนวงนอกมีหน้าที่ฟัง หลังจากนั้นอาจจะมีการสลับกันเป็นบางครั้ง ใช้ได้ดีกรณีมีคนเยอะๆ
Crossover groups แต่ละกลุ่มจะแบ่งหัวข้อย่อยๆ กัน แล้วแต่ละคนรับผิดชอบหัวข้อย่อยของแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก่อนจะไปรวมตัวกับคนที่มาจากต่างกลุ่มที่ได้รับหัวข้อเดียวกัน แล้วค่อยกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกครั้ง
Circular questioning แต่ละคนในกลุ่มจะผลัดกันถามไปทีละคน โดยโยนคำถามกันไปมาระหว่างกลุ่ม
Horseshoe groups ลักษณะการจัดการแบ่งกลุ่ม และสถานที่จะสามารถรวมทั้ง Lecture และ Discussion คือ ฝั่งผู้สอนมีกระดานสามารถสอน lecture ได้ และฝั่งผู้เรียนจะนั่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้สามารถสลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้
Grasha-Riechmann Learning Styles
Learning styles 8 คือ การที่นักเรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งเพื่อนที่เรียนด้วยกัน หรือผู้สอนโดยแบ่งเป็น 6 รูปแบบ
- Competitive แข่งขันกับนักเรียนคนอื่น
- Collaborative มีความเชื่อว่าการเรียนจะต้องแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น
- Avoidant ไม่สนใจหรือถูกทั้งชั้นเรียนกลืนไป
- Participant ชอบที่จะมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- Dependent ต้องการแนวทางการเรียนที่ชัดเจนและให้การช่วยเหลือ
- Independent ชอบที่จะทำงานคนเดียว หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง
Teaching styles 9
- Expert ลักษณะการสอนที่พยายามจะถ่ายทอดทุกอย่างให้แก่นักเรียน โดยจะวางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ ข้อดีคือลักษณะการถ่ายทอดความรู้จะชัดเจน แต่มีข้อเสียคือถ้ามีรายละเอียดมากหรือเรื่องที่ยากมากเกินไปจะทำให้ผู้เรียนบางคนไม่สามารถเข้าถึงได้
- Formal Authority วางรูปแบบทั้งการสอนและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การสอนลักษณะนี้จะตรงไปตรงมา ทำให้บรรลุเป้าหมาย ตามวิธีการที่วางไว้ได้ แต่มีข้อเสียหากเข้มงวดมากเกินไปการเรียนจะตึงเครียด
- Personal Model เชื่อว่าการสอนจะต้องมีการยกตัวอย่าง ทำให้ดู แล้วให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ ข้อเสียคือนักเรียนบางคนอาจไม่รู้สึกว่าได้เรียนรู้เท่าที่ควร
- Facilitator จะช่วยกระตุ้นเช่น มีการถามคำถาม ให้คำแนะนำ หรือเสนอทางเลือกอื่นๆ มีข้อดีคือ จะช่วยให้นักเรียนกระตุ้นการเรียนรู้ของตนเองได้ดี ข้อเสียคือ จะต้องใช้ระยะเวลามากกว่า
- Delegator ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก เช่นการให้นักเรียนทำ Project ของตนเอง และผู้สอนจะมีบทบาทเป็นผู้คอยช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ข้อดีคือ นักเรียนจะสามารถค้นพบความสามารถของตนเองได้ แต่ข้อเสียคือหากผู้สอนอ่านความสามารถของนักเรียนผิดอาจจะทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้โดยสิ้นเชิง
ตัวอย่าง Small groups ที่นำมาใช้ในการเรียนแพทย์
- Clinical skills sessions
- Problem-based learning / problem-solving sessions
- Team-based learning
- Clinical teaching sessions : Ward, OPD, Community-based